วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องแต่งกาย

เครื่องแต่งกาย
  1. เสื้อกีฬา ควรตัดเย็บมาจากผ้าที่สามารถยืดหยุ่นได้ไม่คับหรือหลวมจนเกินไปผ้าที่ควรใช้คือผ้าฝ้ายชนิดบาง ควรมีสีขาวเป็นพื้นประมาณ 80 % ปัจจุบันนิยมมีลวดลายแต่ไม่ควรมีมากเกินไปจนดูไม่สุภาพ
  2. กางเกงกีฬา สำหรับสุภาพสตรี อาจจะใช้กระโปรงสั้นแทนก็ได้ คุณสมบัติของกางเกงกีฬาที่ใช้ เช่นเดียวกับเสื้อกีฬา
  3. ถุงเท้ากีฬา มีความหนาแน่นพอสมควร เพื่อกันการเสียดสีกับรองเท้า มีสีขาวเช่นเดียวกัน
  4. รองเท้ากีฬา ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบ พื้นยางควรมีรองเท้ารองรับข้างล่างมีสีขาว มีความพอดีกับเท้าแต่ต้องให้ใหญ่กว่าเท้าเล็กน้อย เพื่อการสวมถุงเท้าให้ได้พอดี โดยควรเลือกใช้รองเท้าที่ผลิตขึ้นสำหรับกีฬาแบดมินตันโดยเฉพาะ 
  5. รัดข้อมือ ที่ข้อมือข้างที่จับแร็กเกตแบดมินตันอาจใช้ที่รัดข้อมือสวมใส่ไว้ เพื่อป้องกันเหงื่อจากแขนจะไหลลงไปสู่มือขณะเล่น

ตาข่าย

ตาข่าย
ตาข่ายจะต้องทำด้วยดายเส้นละเอียดสีเข้มและมีขนาดตาเท่า ๆ กัน มีตากว้างยาว 5 ส่วน 8 ฟุต ตาข่ายต้องขึงให้ตึงจากเสาต้นหนึ่งถึงอีกต้นหนึ่ง ตาข่ายต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนบนของตาข่ายต้องอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางสนาม 5 ฟุต และเสาต้องอยู่ห่างจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาว พับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือกหรือเส้นลวดตลอดแถบผ้าขาวนี้และขึงตึงอยู่ระดับกับหัวเสาทั้ง 2 ข้าง ความแตกต่างของตาข่ายที่ขึงด้วยเชือก กับเส้นลวดนั้นอยู่ที่การสะบัดของลูกขนไก่ ถ้าเป็นเชือก เมื่อลูกขนไก่กระทบถูกขอบบนสุดของตาข่ายจะมีโอกาสสะบัดพลิกตาข่าย แต่ถ้าเป็นการขึงด้วยเส้นลวดนั้นความยืดหยุ่นมีน้อย ดังนั้นเมื่อชนกับลูกขนไก่ที่เกิดจากแรงตีจะไม่ค่อยมีโอกาสพลิก ซึ่งปัจจุบันสนามที่เป็นมาตรฐานนิยมขึงด้วยลวดสลิงเป็นส่วนมาก และตาข่ายในบางสถานที่นิยมใช้เส้นด้ายคู่ ซึ่งมีสภาพทนทานกว่าและไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร

สนาม

สนาม
สนามจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากกีฬาแบดมินตันได้วิวัฒนาการจากกีฬาที่นิยมเล่นกลางแจ้ง แต่เดิมเคยใช้สนามหญ้าหรือสนามดิน หรือปูนซีเมนต์มาสู่ความเป็นมาตรฐานที่อยู่ในร่ม ตามประวัติสนามที่เป็นมาตรฐานในร่มแห่งแรกได้ริเริ่มสร้างที่สโมสรยูนิตี้ โดยคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร หรือนายประวัติ ปัตตพงษ์ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากวงการแบดมินตันว่าเป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย ท่านมีเป้าหมายเพื่อฝึกผู้เล่นให้เคยชินกับสภาพในร่ม ในระยะแรก ๆ นั้น สนามแบดมินตันในร่มนิยมทำด้วยปูนซีเมนต์ทาสี หรือวัสดุที่ทำให้เกิดความฝืด ต่อมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ที่มีความสวยงามยืดหยุ่น และมีความฝืดพอสมควร ซึ่งพบเห็นมากในปัจจุบันนี้ ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศกลับพัฒนาแบดมินตันในร่มไปเป็นพื้นที่เป็นยางผสมพลาสติก ซึ่งมีความฝืดมากกว่าสนามที่ปูด้วยไม้ปาร์เกต์เสียอีก ทำให้นักกีฬาไทย พบกับปัญหาในการแข่งขันในต่างประเทศ และความแตกต่างของพื้นสนามชนิดนี้ทำให้มีการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศอยู่หลายแห่งจนปัจจุบันนักกีฬา มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสนามในประเภทนี้