วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
ข่าวประชาสัมพันธ์
ถ่ายทอดสดการแข่งขันแบดมินตัน TOT CUP 2011 
การแข่งขันแบดมินตันTOT CUP 2011 ( Master ระดับ 3 ดาว ) ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2554 ณ สนามแบดมินตัน ทีโอที อาคาร 8 ถนน แจ้งวัฒนะ กทม. ประเภท ได้แก่ ชายเดี่ยว, หญิงเดี่ยว, ชายคู่, หญิงคู่ รุ่นอายุ 12 ปี, 14 ปี, 16 ปี และ 18 ปี
ถ่ายทอดสดวันชิงชนะเลิศที่ 10 ตุลาคม 2554
BONNY-CHIANGMAI-BANGKOK OPEN 2011 
1.เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2554 จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 17.00 น.
ทาง E-Mail : btournament@gmail.com เท่านั้น
2.ขอให้ผู้สมัครกรุณาตรวจสอบรายชื่อนักกีฬา ได้ที่ badmintonthai.or.th
หากพบว่าไม่ถูกต้องหรือตกหล่น กรุณาแจ้งไปที่ btournament@gmail.com
ภายในวันที่ 18 กันยายน 2554
3.ประชุมผู้จัดการทีม และจับสลากแบ่งสายวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554 เวลา 10.00 น.
ณ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.แข่งขันวันที่ 17-24 ตุลาคม 2554 ณ โรงยิมเนเซี่ยม 1 สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประชุมผู้จัดการทีม วันที่ 16 ตุลาคม 2554 เวลา 17:00 น.
ณ สนามแบดมินตันกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่
การแข่งแบดมินตัน สมาคมกีฬาจังหวัดป่ทุมธานี YONEX MT SPORT ARENA MINI BADMINTON 
เก็บคะแนนสะสม ระดับ STARLIGHT B ของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
แข่งขันในวันที่ 27 - 30 ตุลาคม 2554 ณ สนามแบดมินตัน MT - ARENA ลำลูกกา คลอง 3
ประเภทของการแข่งขัน ชายเดี่ยว , หญิงเดี่ยว , ชายคู่ , หญิงคู่
รุ่นอายุ 8 ปี , 10 ปี , 12 ปี , 14 ปี , 16 ปี
หมดเขตรับสมัคร วันที่ 18 ตุลาคม 2554 สมัครได้ที่ E-MAIL : tanabad@hotmail.com
รายละเอียดการแข่งขัน
เงินรางวัลแบดมินตันอาชีพประเทศไทย 2554 
เงินรางวัลในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 1 ล้านบาท
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกาย
- เสื้อกีฬา ควรตัดเย็บมาจากผ้าที่สามารถยืดหยุ่นได้ไม่คับหรือหลวมจนเกินไปผ้าที่ควรใช้คือผ้าฝ้ายชนิดบาง ควรมีสีขาวเป็นพื้นประมาณ 80 % ปัจจุบันนิยมมีลวดลายแต่ไม่ควรมีมากเกินไปจนดูไม่สุภาพ
- กางเกงกีฬา สำหรับสุภาพสตรี อาจจะใช้กระโปรงสั้นแทนก็ได้ คุณสมบัติของกางเกงกีฬาที่ใช้ เช่นเดียวกับเสื้อกีฬา
- ถุงเท้ากีฬา มีความหนาแน่นพอสมควร เพื่อกันการเสียดสีกับรองเท้า มีสีขาวเช่นเดียวกัน
- รองเท้ากีฬา ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบ พื้นยางควรมีรองเท้ารองรับข้างล่างมีสีขาว มีความพอดีกับเท้าแต่ต้องให้ใหญ่กว่าเท้าเล็กน้อย เพื่อการสวมถุงเท้าให้ได้พอดี โดยควรเลือกใช้รองเท้าที่ผลิตขึ้นสำหรับกีฬาแบดมินตันโดยเฉพาะ
- รัดข้อมือ ที่ข้อมือข้างที่จับแร็กเกตแบดมินตันอาจใช้ที่รัดข้อมือสวมใส่ไว้ เพื่อป้องกันเหงื่อจากแขนจะไหลลงไปสู่มือขณะเล่น
ตาข่าย
ตาข่าย
ตาข่ายจะต้องทำด้วยดายเส้นละเอียดสีเข้มและมีขนาดตาเท่า ๆ กัน มีตากว้างยาว 5 ส่วน 8 ฟุต ตาข่ายต้องขึงให้ตึงจากเสาต้นหนึ่งถึงอีกต้นหนึ่ง ตาข่ายต้องกว้าง 2 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนบนของตาข่ายต้องอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางสนาม 5 ฟุต และเสาต้องอยู่ห่างจากพื้นสนาม 5 ฟุต 1 นิ้ว ตอนบนของตาข่ายติดแถบสีขาว พับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือกหรือเส้นลวดตลอดแถบผ้าขาวนี้และขึงตึงอยู่ระดับกับหัวเสาทั้ง 2 ข้าง ความแตกต่างของตาข่ายที่ขึงด้วยเชือก กับเส้นลวดนั้นอยู่ที่การสะบัดของลูกขนไก่ ถ้าเป็นเชือก เมื่อลูกขนไก่กระทบถูกขอบบนสุดของตาข่ายจะมีโอกาสสะบัดพลิกตาข่าย แต่ถ้าเป็นการขึงด้วยเส้นลวดนั้นความยืดหยุ่นมีน้อย ดังนั้นเมื่อชนกับลูกขนไก่ที่เกิดจากแรงตีจะไม่ค่อยมีโอกาสพลิก ซึ่งปัจจุบันสนามที่เป็นมาตรฐานนิยมขึงด้วยลวดสลิงเป็นส่วนมาก และตาข่ายในบางสถานที่นิยมใช้เส้นด้ายคู่ ซึ่งมีสภาพทนทานกว่าและไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร
สนาม
สนาม
สนามจัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากกีฬาแบดมินตันได้วิวัฒนาการจากกีฬาที่นิยมเล่นกลางแจ้ง แต่เดิมเคยใช้สนามหญ้าหรือสนามดิน หรือปูนซีเมนต์มาสู่ความเป็นมาตรฐานที่อยู่ในร่ม ตามประวัติสนามที่เป็นมาตรฐานในร่มแห่งแรกได้ริเริ่มสร้างที่สโมสรยูนิตี้ โดยคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร หรือนายประวัติ ปัตตพงษ์ ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากวงการแบดมินตันว่าเป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย ท่านมีเป้าหมายเพื่อฝึกผู้เล่นให้เคยชินกับสภาพในร่ม ในระยะแรก ๆ นั้น สนามแบดมินตันในร่มนิยมทำด้วยปูนซีเมนต์ทาสี หรือวัสดุที่ทำให้เกิดความฝืด ต่อมาพัฒนาปรับปรุงเป็นพื้นไม้ปาร์เกต์ที่มีความสวยงามยืดหยุ่น และมีความฝืดพอสมควร ซึ่งพบเห็นมากในปัจจุบันนี้ ในทางตรงกันข้ามต่างประเทศกลับพัฒนาแบดมินตันในร่มไปเป็นพื้นที่เป็นยางผสมพลาสติก ซึ่งมีความฝืดมากกว่าสนามที่ปูด้วยไม้ปาร์เกต์เสียอีก ทำให้นักกีฬาไทย พบกับปัญหาในการแข่งขันในต่างประเทศ และความแตกต่างของพื้นสนามชนิดนี้ทำให้มีการสั่งซื้อมาใช้ในประเทศอยู่หลายแห่งจนปัจจุบันนักกีฬา มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสนามในประเภทนี้
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ข่าวการแข่งแบดมินตัน
"ซูเปอร์แมน" ลิ่ว 8 คนแบดฯ ออลอิงแลนด์
วันที่ 2011-03-11 05:30:49 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ - 52.1691093444824
โดยประเภทชายเดี่ยว บุญศักดิ์ พลสนะ มือวางอันดับ 8 ของรายการชาวไทย ลงดวลเพลงตบกับ ลี ฮุน อิล จากเกาหลีใต้ ซึ่งแมตช์นี้ "ซูเปอร์แมน" เล่นได้อย่างยอดเยี่ยมก่อนพิชิตชัยไป 2-0 เกม 22-20, 21-12 เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศไปพบกระดูกขัดมันอย่าง ลี ชอง เหวย มือ 1 ของรายการจากมาเลเซีย ในคืนวันศุกร์นี้ต่อไป
'ซูเปอร์แมน'ร่วงรอบแรกแบดมินตันโคเรียโอเพ่น
วันที่ 2011-01-27 03:40:00 โดย ไทยรัฐ - 37.4175186157227

"ซูเปอร์แมน" บุญศักดิ์ พลสนะ พลาดท่าจอดป้ายเพียงรอบแรกแบดมินตันโคเรีย โอเพ่น พ่ายให้กับ ไซมอน ซานโตโซ จากอินโดนีเซีย 2 เกมรวด...
การแข่งขันแบดมินตัน วิกเตอร์ โคเรีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ 2011 ที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ผลงานของนักตบลูกขนไก่ไทย มีดังนี้ หญิงเดี่ยว รอบแรก(32คน) รัชนก อินทนนท์ แพ้ ยี่หาน หวัง(จีน, มือวางอันดับ 3) 0-2 เกม 18-21,17-21 คะแนน, พรทิพย์ บูรณประเสริฐสุข ชนะ โช ชี เฉิน(ไต้หวัน) 2-0 เกม 22-20,21-15, สลักจิต พลสนะ แพ้ ซิเซียน หวัง(จีน, มือวางอันดับ 2) 0-2 เกม 16-21,11-21
ชายเดี่ยว รอบแรก(32คน) บุญศักดิ์ พลสนะ มือวางอันดับ 7 แพ้ ไซมอน ซานโตโซ(อินโดนีเซีย) 0-2 เกม 16-21,14-21, คู่ผสม รอบแรก(32คู่) ทรงพล อนุกฤตยาวรรณ กับ กุลชลา วรวิจิตรชัยกุล แพ้ ฮุง หยิง เฉิน กับ เว้ิน ซิง เฉิน(ไต้หวัน) 0-2 เกม 16-21,9-21, สุดเขต ประภากมล กับ สราลีย์ ทุ่งทองคำ มือวางอันดับ 2 ชนะ ยอง ซุง โย กับ มิน จุง คิม(เกาหลีใต้) 2-1 เกม 21-16,10-21,21-12.
'สุดเขต-สราลีย์' สุดยอดแบดคู่ผสมของไทย : เป้าหมายต่อไปคือลอนดอนเกมส์
วันที่ 2011-03-31 06:30:00 โดย ไทยรัฐ - 33.2210845947266

"แบดมินตัน" คือ หนึ่งในกีฬาไม่กี่ชนิดที่คนไทย ทำได้เยี่ยม และทำได้ดีไม่แพ้ชาติอื่น ที่สำคัญ ยังสามารถสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่าน มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบัน หากพูดถึงการแข่งขันแบดมินตัน ประเภทคู่ผสมของไทย คงไม่มีใครไม่นึกถึงชื่อของ "สุดเขต-สราลีย์" สุดยอดแบดคู่ชาย-หญิงคู่นี้
กับ ชื่อเสียงและรางวัลเกียรติยศมากมาย สุดเขต ประภากมล และ สราลีย์ ทุ่งทองคำ ได้ทำให้วงการแบดมินตันของไทย ประกาศศักดาบนหน้าประวัติศาสตร์เกมกีฬาชนิดนี้ โดยเฉพาะการผงาดคว้าแชมป์เอเชีย เมื่อปี 2005 ซึ่งถือได้ว่าไม่ต่างอะไรกับตำแหน่งสุดยอดของโลก
'น้องพีช'ทะลุตัดเชือกแบดโคเรียเจอมือวาง2
วันที่ 2011-01-28 23:30:00 โดย ไทยรัฐ - 29.7123107910156

"น้องพีช" พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข ยังแรงไม่เลิก ล่าสุดทะลุเข้าตัดเชือกแบดมินตันโคเรีย โอเพ่น ที่เกาหลีใต้ หลังเอาชนะ ซายากะ ซาโตะ 2-1 เกม แต่แมตช์ต่อไปงานหนักเจอมือวางอันดับ 2 จากจีน...
การแข่งขันแบดมินตัน รายการ วิกเตอร์ โคเรีย โอเพ่น ซูเปอร์ ซีรีส์ พรีเมียร์ 2011 ที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา ผลงานของนักตบลูกขนไก่ไทยที่เหลืออยู่เพียงประเภทเดียว มีดังนี้ หญิงเดี่ยว รอบก่อนรองชนะเลิศ "น้องพีช" พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข ชนะ ซายากะ ซาโตะ จากญี่ปุ่น 2-1 เกม 21-12,17-21,21-6 คะแนน ใช้เวลาไป 49 นาที
โดย "น้องพีช" จะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ ไปพบกับ ซี เซียน หวัง มือวางอันดับ 2 ของรายการจากจีน ต่อไป.
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ประวัติบุญศักดิ์ พลสนะนักกีฬาแบดมินตันของไทย
ประวัติ
แมนเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันมาตั้งแต่เด็กแล้ว ก่อนจะเริ่มฝึกฝนอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 9 ขวบ ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณจิระศักดิ์ พลสนะ คุณพ่อของแมนมีความมุ่งหมายที่จะให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของเขาขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกให้ได้ โดยมี ไตรรงค์ ลิ่มสกุล อดีตนักตบทีมชาติไทยในสังกัดทีมเสนานิคม เฝ้าติวเข้มอย่างหนักหน่วง ฝึกซ้อมแบบซ้ำ ๆ จนเกิดความแน่นอน โดยมี “สลักจิต พลสนะ” น้องสาวเฝ้าติดตามและเดินในแนวทางเดียวกัน
จากจุดเริ่มต้นอีก 5 ปีต่อมา “ทนายอ็อด” จีระศักดิ์-บุญชื่น พลสนะ พ่อ-แม่ ของแมนส่งแมนไปฝึกซ้อมที่เมืองจีนตามคำแนะนำของผู้ฝึกสอนที่สโมสรเสนานิคม เพื่อสานความฝันของเขาให้เป็นจริง แมนจึงได้หยุดพักการเรียนเพื่อไปฝึกทักษะแบดมินตันที่เป็นประเทศจีน ขณะที่แมนอายุเพียง 14 ขวบเท่านั้นเอง ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่อีก 2 ปีต่อมาพ่อของแมนและมิ้นก็ได้ถูกมะเร็งคร่าชีวิตไป ทำให้แมนต้องกับมาเมืองไทยและเพื่อมาสู้ตายในบ้านเกิด
เมื่อแมนกลับมาฝึกซ้อมที่เมืองไทยโดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก ศ. เจริญ วรรธนสิน นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยและผู้มีพระคุณอีกหลายท่าน ทั้งนี้มีอุปสรรคที่สำคัญ คือ การเรียน ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของแมนไปสอดแทรกอยู่บนเส้นทางแบดมินตันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม แมนได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ถือเป็นนักแบดมินตันที่มีพรสวรรค์ เล่นได้ครบเครื่องทั้งเกมรุกและรับ จนถูกเรียกติดทีมชาติครั้งแรกในซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่ประเทศบรูไน และติดทีมชาติมาโดยตลอด โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือ ได้อันดับ 4 แบตมินตันชายเดี่ยวของการแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศกรีซ
โอลิมปิก 2004
บุญศักดิ์ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถคว้าอันดับ 4 ได้ ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยแข่งขันกับนักแบดมินตันดังต่อไปนี้- รอบ 32 คนสุดท้าย: ชนะ คริส เดดนาม จากแอฟริกาใต้
- รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะ ลีฮวนอิล จากเกาหลีใต้
- รอบ 8 คนสุดท้าย: ชนะ โรนัล ซูซิโร่ จากสิงคโปร์
- รอบรองชนะเลิศ: แพ้ ทาลฟิก ฮิดายัต จากอินโดนีเซีย
- รอบชิงเหรียญทองแดง: แพ้ โซนี ดวี คุนโคโร จากอินโดนีเซีย
โอลิมปิก 2008
บุญศักดิ์ พลสนะ นักตบลูกขนไก่ความหวังของไทย ตกรอบแรกในศึก โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลังจากถูก โซนี ดวี คุนโคโร คู่ปรับเก่าจากแดนอิเหนา ย้ำแค้นชนะไป 2 เกมรวด 21-16 และ 21-1410 ผลงานเด่นปี 2007 - ปัจจุบัน ประเภทชายเดี่ยว
- เวิลด์กรังด์ปรีซ์โกลด์ ไทยแลนด์ โอเพ่น 2008
- ซูเปอร์ซีรีส์ สิงคโปร์ โอเพ่น 2008
- ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2008
- เวิลด์กรังด์ปรีซ์โกลด์ อินเดีย โอเพ่น 2008
- โธมัส คัพ 2008
- ซูเปอร์ซีรีส์ ไชน่า โอเพ่น 2007
- ซูเปอร์ซีรีส์ ฝรั่งเศส โอเพ่น 2007
- ซูเปอร์ซีรีส์ แจแปน โอเพ่น, ไชนิสไทเป โอเพ่น 2007
- ซูเปอร์ซีรีส์ ไชน่า (สนาม 1 )
- โอลิมปิกครั้งที่ 3
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554
กติกาเบื้องต้น
กติกาเบื้องต้น
1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
หมายเหตุ ศึกษากติกาโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การดิวส์
หากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
มารยาทการเล่น
มารยาทผู้เล่น
1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินไป
2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย
3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน
4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
5. ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน
6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
8. เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้
9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง
10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินทำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์
11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า "เสีย" โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้องออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้องควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน
13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดงความเคารพผู้ตัดสิ้น
14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง
มารยาทผู้ชม
1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้น ๆ
2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน
3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู
4. ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่ง หรือผู้ชมด้วยกัน
5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี
6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น
7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะทำการแข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด
8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย
มารยาท ผู้ตัดสิน
1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน
2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้
3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น
1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
หมายเหตุ ศึกษากติกาโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การดิวส์
หากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
มารยาทการเล่น
มารยาทผู้เล่น
1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินไป
2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย
3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน
4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
5. ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน
6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
8. เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้
9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง
10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินทำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์
11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า "เสีย" โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้องออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้องควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน
13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดงความเคารพผู้ตัดสิ้น
14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง
มารยาทผู้ชม
1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้น ๆ
2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน
3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู
4. ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่ง หรือผู้ชมด้วยกัน
5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี
6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น
7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะทำการแข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด
8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย
มารยาท ผู้ตัดสิน
1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน
2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้
3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น
แร็กเกต
ไม้แร็กเกต
ไม้แร็กเกตมีหลายประเภท เช่น ไม้ล้วน ๆ ไม้ผสมโลหะ และโลหะล้วน ๆ มีขนาดและน้ำหนักไม่เท่ากันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม้แร็กเกตที่ดีต้องขึงเอ็นตึง ไม้ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเอามือกดเอ็นไม่หย่อน หรือในการตรวจสอบดูว่า เอ็นตึงหรือไม่ โดยใช้เอ็นตีฝ่ามือ ฟังเสียงเอ็นนั้น หรือใช้หลังเล็บกรีดเอ็นจากล่างขึ้นบนแล้วฟังเสียงเอ็นนั้น เสียงสูงย่อมหมายถึงตึงมาก แสดงว่าขึงเอ็นตึงดีแล้ว จากการวิจัยและทดสอบมีข้อยืนยันเกี่ยวกับชนิดของเอ็นที่ใช้ขึงแร็กเกตว่าขนาดของเอ็นเส้นเล็ก จะมีแรงสปริงดีกว่าเอ็นเส้นใหญ่
ไม้แร็กเกตแบดมินตันมีน้ำหนักเบาประมาณ 4 - 5.5 ออนซ์ โดยปกติความยาวของไม้แร็กเกตแบดมินตันจะมีความยาวประมาณ 26 นิ้วฟุต และเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อน การเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตันจึงควรทำด้วยความรอบรู้เพื่อประหยัดทั้งทรัพย์และสูงด้วยประสิทธิภาพที่จะนำไปใช้ ไม้แร็กเกตที่มีน้ำหนักมากจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มแรงเหวี่ยงขณะตีลูก แต่มีข้อเสียที่ทำให้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ความสำคัญของการเลือกไม้แร็กเกตแบดมินตัน ขึ้นอยู่กับความสมดุลย์ของน้ำหนักถ่วงระหว่างหัวไม้ กับปลายไม้มากกว่าสิ่งอื่น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกไม้แร็กเกตนี้คือ "ความรู้สึกขณะสัมผัส หมายถึง ขณะจับไม้ขึ้นอยู่กับขนาดของด้านจับ และแรงกระจายน้ำหนักของไม้ หัวไม้จะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับการถือไม้ของผู้เล่น แร็กเกตบางอันมีน้ำนหนักเฉลี่ยสมดุลย์กันทั้งด้านหัวและด้ามจับ วิธีการเลือกไม้แร็กเกตควรจะเลือกหลาย ๆ ชนิด จนกว่าจะพบหน้าไม้มีความสมดุลย์และถือได้สบาย ผู้เล่นสามารถควบคุมหน้าไม้และเพิ่มพลังในการตีลูกได้ด้วย
ไม้แร็กเกตถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากซึ่งถ้าเปรียบแร็กเกตคงเทียบได้กับอาวุธที่สำคัญประจำตัวของนักรบในสนามรบเลยทีเดียว นักรบที่มีความสามารถประกอบกับมีอาวุธที่ดีย่อมชนะการแข่งขันได้ง่าย ดังนั้นการเลือกหาแร็กเกตที่มีคุณภาพดีมีประสิทธิภาพสูงไว้เป็นคู่มือในการฝึกหรือเล่น จึงเป็นเรื่องที่ผู้เล่นจะต้องศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ต้องรู้และเข้าใจถึงคุณภาพแร็กเกตในแต่ละชนิด
สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ มิได้ตราข้อกำหนดสำหรับเรื่องน้ำหนักหรือขนาดของไม้แร็กเกตแต่อย่างใด คงปล่อยให้บริษัทผู้ผลิตไม้แร็กเกตกำหนดและออกแบบรูปร่าง น้ำหนักและขนาดของไม้แร็กเกตตามรสนิยมของนักแบดมินตันโดยทั่วไป
ลูกขนไก่
ลูกขนไก่
ลูกขนไก่เป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นอย่างละเอียดอ่อน คุณภาพของลูกขนไก่มีความสำคัญมาก เพราะหากนำลูกขนไก่ที่ด้อยคุณภาพมาใช้ในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน อาจเป็นผลทำให้การฝึกซ้อมหรือแข่งขันไม่ประสบผลเท่าที่ควรสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ได้กำหนดให้ลูกขนไก่ที่ใช้ในการแข่งขัน อาจจะทำด้วยวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ก็ได้ แต่ต้องมีวิถีการวิ่งเหมือนวัสดุธรรมชาติมีหัวเป็นไม้คอร์กเป็นฐาน ห่อหุ้มด้วยหนังบาง มีขน 16 ขน ปักบนฐานบนเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถึง 1 เศษหนึ่งส่วนแปดนิ้ว ความยาวของขน 2 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้วเศษสามส่วนสี่นิ้ว โดยตอนปลายของขนแผ่เป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ถึง 2 เศษห้าส่วนแปดนิ้ว มีด้ายมัดติดกันจนแน่น มีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 กรัม ถึง 5.50 กรัม
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ประวัติกีฬาแบดมินตัน
แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายในพระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม
ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badmin
ton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา ได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้น เส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุด ใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์ เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา ได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย นอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้ การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ
แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ. 2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุกเมือง
ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ
1. โซนยุโรป
2. โซนอเมริกา
3. โซนเอเชีย
4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)
วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492
ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง
ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน
จอห์น ลอเรน บอลด์วิน ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่ คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด ในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความ
คิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว
บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิด และได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร" ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า "เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป และกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้ เราจะคิดไม่ได้หรือว่า เขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"
แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า "เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด" ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร เมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทิน ขณะนั้นเขาแก่ลงมาก ความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย
ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย
การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมี
ตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ
ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก และจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคล ซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและชายคู่มาแล้ว
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา มีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เอง มีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐาน มีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลา มีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐาน มีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการ มีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิง ภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็ง เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน
ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badmin
ton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา ได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้น เส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุด ใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์ เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมา ได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย นอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้ การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ
แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ. 2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุกเมือง
ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ
1. โซนยุโรป
2. โซนอเมริกา
3. โซนเอเชีย
4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)
วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492
ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง
ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน
จอห์น ลอเรน บอลด์วิน ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่ คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ด ในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความ
คิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว
บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิด และได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร" ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า "เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไป และกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้ เราจะคิดไม่ได้หรือว่า เขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"
แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า "เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด" ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตร เมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทิน ขณะนั้นเขาแก่ลงมาก ความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย
ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย
การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมี
ตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ
ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก และจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคล ซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและชายคู่มาแล้ว
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา มีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เอง มีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐาน มีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลา มีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐาน มีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการ มีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิง ภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็ง เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)